ยินดีที่แวะมาเยี่ยม web blog ทักษะการจัดการความรู้ (KM) ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนศตวรรษที่ 21 วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ขอบคุณคุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา และเพื่อนๆ ที่แนะนำให้คำปรึกษา

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

14 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรี

  14 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรี 


            เมื่อ “เสียน” หรือ“แคว้นสุพรรณภูมิ “ ยอมจำนนต่อหลอ-หู(ละโว้)” หรือตามที่ระบุในหลักฐานประวัติศาสตร์ของราชวงศ์หมิงว่า “เนื่องจากหลอ-หูมีแสนยานุภาพสูง จึงได้ผนวกเอาดินแดนของเสียนและเรียกชื่อว่า เสียน-หลอหู” ซึ่งตรงกับเรื่องราวที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายเล่ม อาทิพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า

            “ศุภมัสดุ ศักราช๗๑๒ ปีขาล โทศก (พ.ศ.๑๘๙๓) วันศุกร์ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๕ เพลา ๓ นาฬิกา ๙ บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบาตร ได้สังข์ทักษิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง แล้วสร้างพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วพระเจ้าอู่ทองเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ พระชนม์ได้ ๓๗ พรรษา ชีพ่อพราหมณ์ถวานพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ….”[55]

            กรุงศรีอยุธยา มีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการนานถึง ๔๑๗ ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น ๓๓ พระองค์ ในปีพ.ศ.๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาได้ถูกกองทัพพม่าปิดล้อมโจมตีและเผาทำลายลงไป พระยากำแพงเพชรหรือพระยาตาก ซึ่งได้รวบรวมกำลังไพร่พลไทยจีนฝรั่งและมุสลิม ประกาศตนเป็นเจ้าและต่อสู้ขับไล่พม่า เสวยราชสมบัติที่เมืองธนบุรีเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(สมเด็จพระบรมราชา ที่๔ พระเจ้าตากสิน) รวมทั้งปราบปรามชุมนุมต่างๆจนราบคาบ [56]

๑.๔.๑ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

๑) ที่ตั้งและสภาพทั่วไป
            กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรสำคัญซึ่งมีทำเลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่าน ๓ สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก นอกจากน้ำยังมีลำคลองสาขาอีกหลายสายไหลเชื่อมกันทั้งในกำแพงเมืองและนอกกำ แแพงเมือง สภาพภูมิประเทศเช่นนี้จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการอุปโภค บริโภค การคมนาคมทางน้ำ การค้าขายและการเกษตรกรรม อีกทั้งยังใช้เป็นแนวป้องกันการรุกรานของข้าศึกศัตรูได้เป็นอย่างดีด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(พ.ศ.๒๐๙๑–๒๑๑๑) มีการขยายกำแพงเมืองและขุดทางน้ำเชื่อมกันระหว่างแม่น้ำลพบุรีกับแม่น้ำป่า สักเพื่อดัดแปลงให้เป็นคูเมือง กรุงศรีอยุธยาจึงมีสภาพเป็นเกาะลักษณะคล้ายสัณฐาน(แผนผัง)ของเรือสำเภาที่มี แม่น้ำล้อมรอบทุกด้าน

            กำแพงเมืองพระนครศรีอยุธยามีความยาววัดรวมกันทั้งสิ้น ๑๒ กิโลเมตร ประกอบด้วยป้อมปราการ ๑๖ ป้อม ประตูเมือง ๙๙ ประตู แบ่งเป็นประตูน้ำ ๒๐ ประตู ประตูบก ๑๘ ประตู และประตูช่องกุด ๖๑ ประตู ภายในกำแพงเมืองนอกจากจะอาศัยลำคลองเป็นทางคมนาคมแล้วยังมีถนนปูอิฐขนานไป กับลำคลองทุกสาย เมื่อถนนตัดผ่านลำคลองก็จะมีสะพานอิฐ สะพานศิลาหรือสะพานไม้ทอดเชื่อม[57] ลักษณะเช่นนี้ทำให้กรุงศรีอยุธยาได้รับการขนานนามจากพ่อค้าและนักเดินทาง ชาวตะวันตกว่า สวยงามราวกับเป็นเมืองเวนิสแห่งตะวันออก

            ภายในตัวเมืองมีการแบ่งเขตที่อยู่อาศัยออกเป็น เขตพระราชวังหลวงติดกำแพงเมืองด้านเหนือ พระราชวังหน้าติดกำแพงเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือ พระราชวังหลังติดกำแพงเมืองด้านตะวันตก และในกำแพงเมืองยังมีเขตที่อยู่อาศัยของเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง ราษฎร พ่อค้าไทย จีน อินเดีย เปอร์เซีย ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเขตที่อยู่อาศัยของชาวมอญ ลาว จีน ญวน ญี่ปุ่น โปรตุเกส อังกฤษ ฮอลันดา ฝรั่งเศส มักกะสัน และอื่นๆนอกกำแพงเมืองทางทิศใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาอย่างเป็นสัด ส่วนด้วย โดยชาวจีนส่วนหนึ่งอาศัยอยู่บริเวณตั้งแต่ย่านวัดพนัญเชิงขึ้นไปจนถึงปาก คลองวัดดุสิต รวมถึงในเกาะเมืองด้านใต้(ตรงข้ามวัดพนัญเชิงและย่านป้อมเพชร) ชาวอินเดียอาศัยนอกเกาะเมืองด้านใต้ ชาวอังกฤษและฮอลันดาอาศัยอยู่บริเวณย่านด้านใต้ของวัดพนัญเชิงลงมา ชาวโปรตุเกสอยู่บริเวณตำบลบ้านดินด้านใต้วัดบางกระจะลงมา ชาวญี่ปุ่นตั้งค่ายอยู่ฝั่งตรงกันข้ามเยื้องกับหมู่บ้านโปรตุเกส เป็นต้น

๒) การปกครอง
            การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยามีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของพระราช อำนาจสูงสุดในการปกครองอันละเมิดมิได้ พื้นฐานของพระราชอำนาจนี้มาจากขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อในศาสนา พราหมณ์และศาสนาพุทธ ซึ่งปรากฏอย่างเด่นชัดอยู่ในกฎมนเทียรบาล อันเป็นเครื่องมือกำหนดแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีต่อพระมหา กษัตริย์ พระมหากษัตริย์จึงทรงมีพระราชฐานะเป็นสมมติเทพ ผู้ทรงเปรียบเสมือนเทพเจ้า ซึ่งจะต้องมีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก อีกทั้งยังทรงเป็นเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดิน ความเชื่อดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของลัทธิเทวราชา ซึ่งได้รับสืบทอดแนวความคิดมาจากอาณาจักรกัมพูชา

            ในด้านการเมืองนั้น กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีศูนย์กลางทางการปกครองที่แวดล้อมด้วยเมืองเล็กโดย รอบปริมณฑลของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเรียกว่า “หัวเมืองชั้นใน” ถัดออกไปคือ เมืองลูกหลวงหรือเมืองหลานหลวง(ขึ้นอยู่กับยศของเจ้านายผู้ปกครองเมือง) เรียกว่า “หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร” และเมืองประเทศราช มีขุนนางที่สมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือน สมุหกลาโหมเป็นผู้ควบคุมดูแลฝ่ายทหาร ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๑๙๙๑–๒๐๑)มีการปฏิรูปการปกครองและยก เลิกการแต่งตั้งพระราชวงศ์ไปปกครองหัวเมืองสำคัญ (เมืองพระยามหานคร ) เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีอาณาเขตเพิ่มมากและและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การ เกิดปัญหาการสะสมกำลังเพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์ ดังปรากฏหลักฐานเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราช(ขุนหลวงพะงั่ว พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๓๑)แห่งเมืองสุพรรณบุรียกทัพเข้ามาชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระราเม ศวร และสมเด็จพระราเมศวร(พ.ศ.๑๙๓๑–๑๙๓๘)ยกทัพจากเมืองลพบุรีเข้ามาชิงราช บัลลังก์จากสมเด็จพระเจ้าทองลัน(พ.ศ.๑๙๑๓) เป็นต้น

            การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเกิดขึ้นในปีพ.ศ.๑๙๙๘ มีเหตุผลหลักๆ ๓ ประการ คือ ประการแรก เพื่อขยายอำนาจส่วนกลางออกควบคุมหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ประการที่สอง เพื่อเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ของฝ่ายพลเรือนและทหารให้ชัดเจน ประการที่สาม เพื่อการถ่วงดุลย์อำนาจของขุนนางฝ่ายต่างๆมิให้มีโอการร่วมมือกันล้มราช บัลลังก์ การปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งเรียกว่าการปกครองแบบจตุสดมภ์ถูกนำมา ใช้จนถึงรัชสมัยพระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่(พ.ศ.๒๔๑๑–๒๔๕๓) รัชกาลที่๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ [58]

หลักการปกครองแบบจตุสดมภ์ ประกอบด้วยการปกครองส่วนกลางและการปกครองหัวเมือง

            การปกครองส่วนกลาง อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสมุหพระกลาโหมและสมุหนายก ซึ่งจะอำนาจในการบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ ได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลังและกรมนาอีกชั้นหนึ่ง

            สมุหพระกลาโหม เป็นตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีผู้บังคับบัญชากรมกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาดูแลกำกับราชการและไพร่ฝ่ายทหารทั้งในราชธานีและหัว เมืองต่างๆทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งกรมในสังกัดฝ่ายกลาโหม ได้แก่ กรมอาสาซ้าย กรมอาสาขวา กรมเขนทองขวา กรมเขนทองซ้าย กรมทวนทองขวา กรมทวนทองซ้าย กรมช่างสิบหมู่ เป็นต้น ยศและราชทินนามของสมุหพระกลาโหมคือ เจ้าพระยามหาเสนาบดีวิริยภักดีบดินทรสุรินทรฤาชัย ถือตราพระคชสีห์

            สมุหนายก เป็นตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีผู้บังคับบัญชากรมมหาดไทยมีหน้าที่บังคับบัญชา ดูแลกำกับขุนนางและไพร่ฝ่ายพลเรือนทั้งในราชธานีและหัวเมืองต่างๆทั่วราช อาณาจักร รวมทั้งกรมในสังกัดฝ่ายพลเรือน รวมทั้งกรมจตุสดมภ์ทั้ง ๔ และกรมอื่นๆ อาทิ กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ กรมมหาดไทยฝ่ายพะลำพัง กรมมหาดไทยตำรวจภูธร กรมมหาดไทยตำรวจภูบาลฯลฯ ด้วย ยศและราชทินนามของสมุหนายกคือ เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์สมหนายกอัครมหาเสนาบดี ถือตราพระราชสีห์
เสนาบดีเวียง วัง คลังและนาอันเป็นหัวใจของการปกครองแบบจตุสดมภ์มีบทบาทดังนี้[59]
            กรมเวียง (กรมนครบาล) มีหน้าที่ในการปกครองท้องที่ ปราบอาชญากรรม รักษาความสงบภายใน ดูงแลปัญหาอัคคีภัยในเขตราชธานีและหัวเมืองใกล้ราชธานี ตัดสินคดีความมหันตโทษ และควบคุมดูแลกรมในสังกัด อาทิ กรมตะเวณขวาและกรมตะเวณซ้าย ฯลฯ เสนาบดีกรมเวียงคือ พระยายมราช ถือตรา พระยมขี่ทรงสิงห์
            กรมวัง (กรมธรรมาธิกรณ์) มีหน้าที่ดูแลราชการ งานยุติธรรมและงานพระราชพิธีในราชสำนัก แต่งตั้งยกกระบัตรไปประจำยังหัวเมือง เพื่อกำกับราชการต่างพระเนตรพระกรรณพระมหากษัตริย์และรายงานเรื่องต่างๆเข้า มายังส่วนกลาง รวมทั้งกำกับราชการกรมในสังกัด ได้แก่ กรมชาวที่พระบรรทม กรมพระภูษามาลา กรมฉางข้าวบาตร และกรมสวนหลวง ฯลฯ เสนาบดีคือ พระยาธรรมาธิบดี ถือตราเทพยดาทรงโค
            กรมคลัง (กรมโกษาธิบดี) มีหน้าที่เก็บ รักษา และจ่ายพระราชทรัพย์ ดูแลการเก็บภาษีอากรต่างๆ รับผิดชอบการค้าสำเภาและการผูกขาดการค้าทั้งภายในและภายนอกพระราชอาณาจักร ดูแลชาวต่างชาติและความสัมพันธ์กับต่างประเทศ รวมถึงบังคับบัญชา เสนาบดีคือพระยาโกษาธิบดี ถือตราบัวแก้ว
            กรมนา (กรมเกษตราธิการ) มีหน้าที่ตรวจตราและส่งเสริมการทำนาของประชาชน เก็บหางข้าว ออกโฉนดที่นา จัดซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง ตัดสินคดีความเกี่ยวกับที่นา ผลิตผลในนาและโคกระบือ รวมทั้งดูแลกรมในสังกัด เช่น กรมฉาง เป็นต้น เสนาบดีคือ พระยาพลเทพ ถือตรา ๙ ดวงเพื่อใช้ในโอกาสต่างๆ อาทิ ตราพิทยาธรถือดอกจงกลนี ตราพระพิรุณขี่นาค ตราพระโพสพยืนบนแท่น ตราเทวดานั่งบุษบก เป็นต้น

การปกครองหัวเมือง
            หัวเมืองชั้นใน นสมัยอยุธยาตอนต้นหัวเมืองชั้นในมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงและเมืองหลานหลวง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงลดฐานะเมืองดังกล่าวให้เป็นหัวเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อราชธานี โดยส่วนกลางจะส่ง “ผู้รั้ง”ไปปกครอง ตำแหน่งนี้จะมีอำนาจน้อยกว่าเจ้าเมือง หัวเมืองชั้นในทิศเหนือจรดเมืองชัยนาท ทิศตะวันออกจรดเมืองปราจีนบุรี ทิศใต้จรดเมืองกุยบุรี ทิศตะวันตกจรดเมืองกาญจนบุรี

            หัวเมืองชั้นนอก อยู่ถัดออกไปจากหัวเมืองชั้นใน อาจเรียกว่าเมืองพระยามหานครก็ได้ และถูกแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นตรี หัวเมืองชั้นโทและหัวเมืองชั้นเอกตามระดับความสำคัญ ได้แก่ เมืองพิษณุโลก เมืองนครศรีธรรมราช เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เป็นต้น โดยส่วนกลางอาจส่งขุนนางไปปกครองหรือแต่งตั้งขุนนางเชื้อสายเจ้าเมืองเดิม ปกครองก็ได้ แต่ละเมืองก็จะมีสมุหพระกลาโหม สมุหนายกและขุนนางจตุสดมภ์ปฏิบัติราชการเช่นเดียวกับราชธานี

            หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองขึ้นอาทิ หัวเมืองเขมร หัวเมืองมอญ หัวเมืองมลายู ซึ่งส่วนกลางมิได้ส่งขุนนางไปปกครอง แต่หัวเมืองประเทศราชจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการและดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองไปถวายตามเวลาที่กำหนดไว้[60]

๓) โครงสร้างทางสังคมและระบบการควบคุมกำลังคน
            สังคมอยุธยาเป็นสังคมของชนชั้น แบ่งเป็นชนชั้นผู้ปกครอง ชนชั้นที่อยู่ใต้ปกครอง และพระสงฆ์ ชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนางและข้าราชการ ส่วนชนชั้นที่อยู่ใต้ปกครอง ได้แก่ ไพร่และทาส สำหรับพระสงฆ์นั้นเป็นชนชั้นพิเศษที่แยกออกมาจากชนชั้นปกครองและชนชั้นที่ ถูกปกครอง
            เงื่อนไขในการกำหนดศักดินา คือ ชาติกำเนิดและตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ ในสังคมอยุธยา “ศักดินา” เป็นเครื่องมือสำคัญในการแจกจ่ายไพร่พล และควบคุมกำลังคน รวมทั้งกำหนดบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อรัฐและมูลนาย กำลังคนหรือแรงงานไพร่เป็นทรัพยากรที่มีค่าทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ นักวิชาการบางคนอธิบายว่า ศักดินา หมายถึง กรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นพื้นฐานของการจัดระบบสังคม[61] กล่าวคือ พระมหาอุปราชทรงเป็นผู้มีศักดินาสูงสุด จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ เจ้านายทรงกรมมีศักดินา ๑๑,๐๐๐ - ๕๐,๐๐๐ ขุนนางคือข้าราชการที่มีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐– ๑๐,๐๐๐ ข้าราชที่มีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐ ถือเป็นข้าราชการชั้นประทวน ไพร่มีศักดินา ๑๐–๒๕ ส่วนวณิพกและทาสมีศักดินาไม่เกิน ๕

            ไพร่ หมายถึง ราษฎรชายหญิงที่มิได้เป็นมูลนายหรือทาส ไพร่ทุกคนจะต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย(เจ้านายและขุนนาง) เพื่อการเกณฑ์แรงงานตามกรมของมูลนายตามระยะเวลาที่กำหนด
แรงงานไพร่นอกจากจะมีความสำคัญต่อการผลิตด้านต่างๆในสังคมแล้ว ยังเป็นกำลังสำคัญของอำนาจทางการเมือง การสงคราม งานโยธา รวมถึงงานสาธารณูปการทั้งหลายด้วย พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวว่า การจัดระบบควบคุมกำลังคนหรือระบบไพร่นี้เริ่มมีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จ พระรามาธิบดีที่๒ กล่าวคือ

“ศักราช ๘๘๐ ขาลศก(พ.ศ.๒๐๖๑) ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดี สร้างพระศรีสรรเพชญ์ เสวยราชสมบัติ แรกตำราพิชัยสงครามและแรก(ทำสารบาญ)ชี พระราชสัมฤทธิ์ทุกเมือง“[62]

ไพร่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น แบ่งเป็น
            ไพร่หลวง เป็น ไพร่สังกัดพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงปกครองไพร่หลวงผ่านขุนนาง โดยทรงให้ไพร่หลวงสังกัดในกรมต่างๆของขุนนาง ไพร่หลวงเป็นสมบัติของพระมหากษัตริย์มิใช่ไพร่ของขุนนางที่ได้รับมอบหมายให้ ดูแล ไพร่หลวงมีภาระในการขุดคลอง สร้างกำแพงเมือง ป้อมปราการ ถนนและวัดหลวง รวมทั้งเป็นทหารในยามศึกด้วย ไพร่หลวงมีอายุตั้งแต่ประมาณ ๑๘ ปีและปลดระวางเมื่ออายุครบ ๗๐ ปี ใน ๑ ปี ไพร่หลวงถูกเกณฑ์แรงงาน ๖ เดือน เรียกว่า “การเข้าเดือน” เมื่อออกเดือนแล้วก็ยังต้องไปทำงานรับใช้มูลนายด้วยเป็นระยะๆ จึงไม่มีอิสระในการประกอบอาชีพและต้องรับภาระหนักกว่าไพร่สมมาก

            ในสมัยอยุธยาตอนกลางเมื่อการค้าต่างประเทศเจริญรุ่งเรืองมาก จึงเกิดไพร่ประเภทใหม่คือ “ไพร่ส่วย” ไพร่ ส่วยเป็นไพร่หลวงซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ไกลจากราชธานี การเกณฑ์แรงงานมาใช้จึงไม่สะดวก แต่เนื่องจากอาศัยอยู่ในที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร เช่น เงิน ทอง ดีบุก รังนก ไม้ฝาง ผลเร่วและ ฯลฯ ทางการจึงอนุญาตให้ไพร่ประเภทนี้ส่งสิ่งของมีค่าแทนการเกณฑ์แรงงานได้ เพื่อใช้ในราชการและส่งขายต่างประเทศ

            ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์(พ.ศ.๒๑๙๙–๒๑๓๒)ทางการอนุญาตให้มีไพร่ส่วยเงิน ได้ ไพร่หลวงคนใดไม่ประสงค์จะทำงานให้ทางการ ก็สามารถจ่ายเงินแทนได้ในอัตรา ๒ บาทต่อเดือน แต่ไพร่หลวงซึ่งถูกเกณฑ์แรงงานเป็นกลุ่มที่มีมากที่สุด[63]

            ไพร่สม เป็น ไพร่สังกัดมูลนาย(เจ้านายและขุนนาง) ไพร่สมมีฐานะเป็นสมบัติของมูลนายที่สามารถสืบทอดเป็นมรดกได้ และมีหน้าที่รับใช้มูลนายของตน จึงไม่ต้องถูกเกณฑ์มาทำงานโยธาให้แก่รัฐ ไพร่ที่สังกัดเจ้าทรงกรมในสมัยอยุธยาตอนปลายถือเป็นไพร่สมด้วย
ภาระของไพร่สม ได้แก่ การซ่อมแซมที่พักของมูลนาย การเดินสาส์น การติดตามเป็นบริวาร การสร้างวัดของมูลนาย การทำงานฝีมือ และการนำสิ่งของมาบรรณาการมูลนายอย่างสม่ำเสมอ ในยามสงครามไพร่สมจะถูกเกณฑ์เป็นทหารทหารสังกัดกรมกองของมูลนาย
ระบบไพร่แม้จะเป็นรูปแบบการควบคุมกำลังคนที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเป็น ปึกแผ่นแก่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่ก็เป็นระบบที่ก่อให้เกิดปัญหานานาประการ อาทิ ปัญหาไพร่หนีนาย มูลนายกดขี่ไพร่ ไพร่หลวงหนีงานหนักแล้วบวชเป็นพระ ไพร่หลวงติดสินบนมูลนายเพื่อให้รับตนเป็นไพร่สม มูลนายส้องสุมไพร่สมเพื่อชิงอำนาจทางการเมือง ปัญหาการก่อกบฎเนื่องจากประสบความเดือดร้อนจากระบบไพร่ เช่น กบฎญาณพิเชียร (พ.ศ.๒๑๒๔) กบฎธรรมเถียร(พ.ศ.๒๒๓๗) และกบฎบุญกว้าง(พ.ศ.๒๒๔๑) เป็นต้น ทางการจึงออกกฎหมายห้ามมูลนายใช้งานไพร่หลวงดุจทาส กฎหมายห้ามเบียดบังไพร่หลวงเป็นไพร่สม การออกระเบียบให้ตรวจนับจำนวนไพร่ในสังกัดให้ถูกต้องตามบัญชีหางว่าว เป็นต้น

๔) เศรษฐกิจ
            สภาพอันเหมาะสมทางภูมิประเทศของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาและที่ตั้งทาง ภูมิศาสตร์ของพระราชอาณาจักร ทำให้กรุงศรีอยุธยามีฐานะเป็นศูนย์กลางทางการติดต่อค้าขายทั้งภายในและภาย นอก เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตทางเกษตรกรรม รวมถึงสินค้าประเภทของป่า และการเป็นแหล่งระบายสินค้าทั้งสินค้าเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ผ้าและของฟุ่มเฟือยจากจีน อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และยุโรป ฯลฯ

            สินค้าจากต่างประเทศมักมีราคาแพงลูกค้ามักเป็นชนชั้นปกครองและคหบดี ตลาดภายในยังเป็นตลาดขนาดเล็กมีระบบการค้าขายแลกเปลี่ยนแบบยังชีพ ระบบเงินตราเป็นสื่อสำคัญในการแลกเปลี่ยน ผู้ผลิตเงินตราที่ใช้ในการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า คือ ราชสำนัก

            ในระยะแรกการค้าขายเป็นแบบเสรี เมื่อการค้ากับตะวันตกขยายตัวมากขึ้น จึงมีการตั้งกรมพระคลังสินค้า เพื่อดำเนินการผูกขาดทางการค้า ควบคุมสินค้าเข้าและสินค้าออก รวมทั้งกำหนดราคาสินค้าทุกชนิดด้วย
สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ ข้าว หมาก พลู ฝ้าย มะพร้าว กระวาน กานพลู พริกไท น้ำตาล เกลือ สินค้าป่าที่สำคัญคือ ไม้ กฤษณา อำพัน ฝาง งาช้าง หรดาล นอระมาด ช้าง ม้า นกยูง นกแก้วห้าสี แร่ทองคำ เงิน พลอย เครื่องสังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

            สินค้าเข้าสำคัญ ได้แก่ ผ้า แพรพรรณ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยญี่ปุ่น มีด ดาบ หอก เกราะ ทองแดง สารส้ม และเครื่องรัก เป็นต้น [64]

๕) การติดต่อกับต่างประเทศ
            กรุงศรีอยุธยามีการติดต่อกับชาติต่างๆทั้งชาวตะวันออกและชาวตะวันตก ชาวตะวันออกที่เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยานอกจากชาติเพื่อนบ้านในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน ได้แก่ พม่า ลาว เขมร มอญ จามปา อะเจะห์ ชวา ฯลฯ รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย ศรีลังกา อาหรับ เปอร์เซีย และมาดากัสกา ส่วนชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวเมืองพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ชาวโปรตุเกส อังกฤษ ฮอลันดา สเปน และฝรั่งเศส ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาหลัง จากยึดครองมะละกาได้เมื่อพ.ศ.๒๐๕๔

            ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติทั้งชาวเอเชียและชาวยุโรปทำให้กรุงศรีอยุธยา เลือกสรรปรับใช้ เรียนรู้และหล่อมหลอมศิลปวิทยาการนานาประการจากต่างชาติ อาทิ การจ้างผู้เชี่ยวชาญการเดินเรือสำเภาชาวจีน การจ้างนักบัญชีและตัวแทนทางการค้าชาวอาหรับ การเรียนรู้ตำราพิชัยสงครามและวิทยาการปืนใหญ่จากชาวโปรตุเกส การรับรูปแบบศิลปวัฒนธรรม การเรียนรู้ภาษาโปรตุเกสเพื่อใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อกับต่างชาคิ การจ้างชาวโปรตุเกสเป็นล่ามในราชสำนัก[65] เป็นต้น

๑.๔.๒ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี 

            ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.๒๓๑๐ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองของไทยได้ย้ายลงมาตั้งที่เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรหรือ เมืองบางกอกภายใต้การนำของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ พระเจ้าตากสิน พ.ศ.๒๓๑๐–๒๓๒๕)
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัย ธนบุรี ประกอบด้วยพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ อาทิ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี(ฉบับพันจันทนุมาศ) จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องปฐมวงศ์ จดหมายเหตุสมัยราชวงศ์ชิง(ชิงสือลู่) ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พงศาวดารโยนก บันทึกของบาทหลวงเดอ โลเนชาวฝรั่งเศส และหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษหรือโครงกระดูกในตู้ เป็นต้น ส่วนงานวิจัยประวัติศาสตร์สมัยธนบรีที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ หนังสือเรื่อง การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ ซึ่งมุ่งอธิบายพัฒนาการทางการเมืองเป็นหลัก แต่ก็ได้กล่าวถึงสภาพเรื่องราวทางเศรษฐกิจและสังคมในสมัยนี้ด้วย

            กรุงธนบุรีมีบทบาทต่อประวัติศาสตร์ไทยในฐานะราชธานีเป็นระยะเวลาเพียง ๑๕ ปี ความสำคัญดังกล่าวก็สิ้นสุดลง หลักฐานเอกสารระบุว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมี “พระสติวิปลาส” ขุนนางและอาณาประชาราษฎร์จึงพร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ศึก นายทหารคนสำคัญซึ่งได้รับการยอมรับจากขุนนางข้าราชการและราษฎร ขึ้นปราบดาภิเษกเสวยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในปี พ.ศ.๒๓๒๕

            การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยธนบุรีอันเป็นจุดเปลี่ยนผ่าน ทางการเมือง การปกครอง สังคมและวัฒนธรรมช่วงสั้นๆของสังคมไทยในอดีต จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ของการสืบทอดเชื่อมโยงทางประวัติ ศาสตร์ สังคมและศิลปวัฒนธรรมสมัย รัตนโกสินทร์ได้มากยิ่งขึ้น

๑) สภาพที่ตั้ง
            ในพ.ศ.๒๓๑๐ ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าปิดล้อมจวนจะเสียกรุง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขณะทรงดำรงพระยศเป็นที่พระยากำแพงเพชรทรงนำไพร่พลไทย จีนและคนเชื้อสาย โปรตุเกสรวมประมาณ ๕๐๐ คนเศษตีฝ่าแนวปิดล้อมของกองทัพพม่าออกไปทางตะวันออก[66] เพื่อรวบรวมกำลังไพร่พลแถบหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออกต่อสู้ขับไล่พม่าออก ไปจากพระราชอาณาจักรสยาม พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบันทึกว่า เมื่อเสด็จฯถึงเขตเมืองระยองแล้ว พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสยังบรรดานายทัพและรี้พลว่า

            “…กรุงเทพมหานครงจะเสียแก่พม่าเป็นแน่แท้ ตัวเราคิดจะซ่องสุมประชาราษฎรในแขวงหัวเมืองตะวันออกทั้งปวงให้ได้มากแล้ว จะยกกลับเข้าไปกู้กรุงให้คงคืนเป็นราชธานีดังเก่า แล้วจักทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎรซึ่งอนาถาหาที่พำนักมิได้ให้ร่มเย็น เป็นสุขานุสุข และจะยอยกพระบวรพุทธศาสนาให้โชตนาการไพบูลย์ขึ้นเหมือนอย่างแต่ก่อน เราจะตั้งตัวเป็นเจ้าขึ้น ให้คนให้คนทั้งหลายนับถือยำเกรงจงมาก การซึ่งจะก่อกู้แผ่นดินจึงจะสำเร็จโดยง่าย ท่านทั้งหลายจะเห็นประการใด นายทหารและไพร่พลทั้งปวงก็เห็นชอบด้วยพร้อมกัน จึงยกพระยากำแพงเพชรขึ้นเป็นเจ้าเรียกว่าเจ้าตากตามนามเดิม…”[67]

            หลังเสียกรุงศรีอยุธยา ราชธานีมีสภาพทรุดโทรม เต็มไปด้วยซากศพ ผู้คนอดอยากและคนโทษจำนวนมาก ภาพที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นทำให้ทรงสลดพระทัยและมีพระราชประสงค์จะเสด็จฯไป ประทับยังเมืองจันทบูรณ์ แต่อาณาประชาราษฎรและสมณชีพราหม์ได้ร่วมกับกราบบังคมทูลฯให้เสด็จฯประทับ ณ พระตำหนักเมืองธนบุรี[68]

            นักวิชาการอธิบายว่า การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี อาจประกอบด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ [69]

            ๑.กรุงธนบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่ควบคุมเส้นทางการเดินเรือในอ่าวไทย สามารถควบคุมการค้าและยุทธปัจจัยจากภายนอกเข่าสู่ภายในพระราชอาณาจักรได้ เป็นอย่างดี
            ๒.กรุงธนบุรีมีป้อมปราการสองฟากแม่น้ำ ได้แก่ ป้อมวิไชยประสิทธิ์และป้อมวิไชเยนทร์ ซึ่งจะเกื้อหนุนต่อการป้องกันพระนคร
            ๓.กรุงธนบุรีมีที่ตั้งเหมาะสมเอื้อต่อการล่าถอยไปยังหัวเมืองตะวันออกได้ในเวลาอันรวดเร็ว
            ๔.ทำเลที่ตั้งของกรุงธนบุรีมีความเหมาะสมต่อการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
            ๕.กำแพงป้อมวิไชยประสิทธิ์อันเป็นที่ตั้งพระราชวังแม้จะมีพื้นที่เพียง ๑ ตารางกิโลเมตร แต่ก็มีความแข็งแรงเหมาะต่อการเข้าไปปรับปรุงเป็นที่ประทับ และแม้ว่าจะทรงมีพระราชดำริในการสร้างพระตำหนักที่ประทับใหม่ภายในป้อมวิไชย เยนทร์ทางฝั่งตะวันออกแล้วก็ตาม

            สภาพที่ตั้งของกรุงธนบุรีมีลักษณะชัยภูมิแบบที่เรียกว่า “เมืองอกแตก” คือมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ศูนย์กลางของตังเมืองแม้จะตั้งอยู่ภายในพระราชวังเดิมปากคลองบางหลวง(คลอง บางกอกใหญ่)ฝั่งตะวันตก แต่อาณาเขตของตัวเมืองครอบคลุมทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้า พระยา ในปีพ.ศ.๒๓๑๖สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้เกณฑ์ราษฎรขุดคูก่อกำแพงเมือง ทางฝั่งตะวันตกตามแนวคลองวัดวิเศษการไปออกคลองบางหลวง ส่วนทางฝั่งตะวันออกโปรดฯให้ขุดคูเมืองตั้งแต่บริเวณปากคลองโรงไหมใต้สะพาน พระปิ่นเกล้าไปตามแนวซึ่งเรียกว่า “คลองหลอด” ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาดในปัจจุบัน

๒) การปกครอง
            เมื่อขับไล่พม่าออกไปจากเมืองธนบุรีและสถาปนาศูนย์อำนาจแห่งใหม่ขึ้นมาแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินได้เสด็จฯออกปราบปรามชุมนุมต่างๆที่ตั้งตนเป็นอิสระหลัง การสลายตัวของกรุงศรีอยุธยารวมเป็นเวลา ๓ ปี เพื่อสถาปนาความมั่นคงทางการเมืองของราชธานี

            กลยุทธ์ที่ทรงใช้ในการรวบรวมความเป็นปึกแผ่นของพระราชอาณาจักร คือทรงเน้นทั้งวินัยทหารที่ประกอบไปด้วยความเด็ดขาดและการรอมชอมเพื่อผล ประโยชน์ทางการเมืองและการปกครอง ดังปรากฏในปีพ.ศ.๒๓๑๑ เมื่อทรงปราบชุมนุมเจ้าพิมาย(กรมหมื่นเทพพิพิธ พระโอรสสมเด็จพระบรมราชาที่๓ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)ได้ก็โปรดฯให้ประหารชีวิตเสีย แต่ครั้นปราบชุมนุมเจ้าพระยานครศรีธรรมราชสำเร็จในปลายปี พ.ศ.๒๓๑๒ กลับทรงใช้วิธีการผูกน้ำใจเนื่องจากทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า “เจ้านครมิได้เป็นขบถประทุษร้าย เป็นแต่ตั้งตัวในเวลาบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงโปรดให้เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี และให้เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และทรงสถาปนาให้เป็นเจ้าประเทศราช”[70]

            แม้ในปีพ.ศ.๒๓๑๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะไม่ทรงประสบความสำเร็จในการปราบชุมนุมเจ้าพระยา พิษณุโลก แต่สามารถปราบปรามพระตะบอง เสียมราฐและเขมรฝ่ายนอกได้ภายในปีเดียวกัน ต่อมาในปีพ.ศ.๒๓๑๓ ทรงปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกและชุมนุมเจ้าพระฝางได้ตามลำดับ ถือเป็นการรวบรวมและฟื้นฟูอาณาเขตของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้อีก ครั้ง [71] ยุทธศาสตร์สำคัญที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำมาใช้ในการสงครามคือ การยกทัพออกไปรับศึกที่ชายแดนแทนการตั้งรับศึกในราชธานีดังที่เคยใช้ในรัช สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์เมื่อครั้งกรุงเก่า การออกไปรับศึกนอกราชธานีมีผลดีคือ ทำให้บ้านเมืองและราษฎรไม่บอบช้ำจากการสงคราม

            ในด้านการปกครองนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงอาศัยขุนนางผู้ใหญ่ผู้เคย รับราชการสมัยอยุธยาเป็นผู้ถ่ายทอดแบบแผนการปกครองบ้านเมือง ในสมัยกรุงธนบุรี พระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นผู้มีพระราชอำนาจสูงสุดในฐานะพระประมุขและผู้ ปกครองบ้านเมืองให้มีความสงบสุขภายใต้ทศพิธราชธรรมและแนวคิดจักรพรรดิราช ในรัชสมัยนี้การปกครองแบบจตุสดมภ์ถูกนำมาใช้อีก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคด้วยการทรงแต่งตั้ง นายทหารคนสนิทหรือเจ้าเมืองเดิมออกไปปกครองหัวเมืองใหญ ส่วนเมืองเล็กซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปทรงมอบหมายให้หัวเมืองใหญ่ดูแลต่างพระ เนตรพระกรรณอีกชั้นหนึ่ง อาทิ เมืองนครราชสีมาดูแลหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองนครศรีธรรมราชดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ เมืองพิษณุโลกดูแลหัวมืองฝ่ายเหนือและเมืองจันทบูรณ์ดูแลหัวเมืองฝ่ายตะวัน ออก [72]

            การฟื้นฟูอำนาจทางการเมืองของราชสำนักกรุงธนบุรีประการสำคัญ คือ การขยายพระราชอำนาจไปยังหัวเมืองล้านนา ในปีพ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จฯยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่เพื่อขจัดอิทธิพลของพม่า โดยความร่วมมือของพระยาจ่าบ้านและพระยากาวิละ จากนั้นทรงแต่งตั้งพระยาจ่าบ้านเป็นเจ้าประเทศราชเมืองเชียงใหม่และพระยากา วิละเป็นเจ้าประเทศราชเมืองลำปาง ต่อมาเมืองลำพูน เมืองแพร่ และเมืองน่านก็เข้าสวามิภักดิ์ด้วย[73] นอกจากนี้เวียงจันทร์ หลวงพระบาง ปัตตานีและเคดะห์ ต่างก็ยอมรับในพระราชอำนาจของพระองค์เช่นเดียวกัน[74]บุคคลสำคัญที่มีบทบาท ในการสร้างพระราชอำนาจของสมเด็จพระเจ้าตากสินคือ เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์จักรีในเวลาต่อมา

            เดวิด เค. วายแอตต์อธิบายว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงประสบความสำเร็จในฐานะนักรบมากกว่านักปกครอง หลักฐานของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสในระบุว่า เมื่อกองทัพสยามยกกลับกรุงธนบุรีในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๒๒ ภายในราชสำนักธนบุรีเริ่มมีความไม่ปกติเกิดขึ้น กล่าวคือ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสวดพระพุทธมนต์ ทรงงดพระกระยาหารและทรงบำเพ็ญวิปัสนาธุระ จากนั้นทรงประกาศว่าทรงมีอิทธิฤทธิ์สามารถเหาะขึ้นไปบนอากาศได้ พระองค์ยังทรงบังคับให้พระสงฆ์ยอมรับว่าทรงบรรลุโสดาบัน และหากพระเถระรูปใดไม่ยอมถวายบังคมพระองค์ท่านในฐานะเทพ ก็จะถูกโบย ถอดยศและต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ทำให้ราษฎร ขุนนาง ข้าราชการหวั่นกลัว ส่งผลกระทบต่อพระราชอำนาจของราชสำนัก

            ตอนปลายรัชสมัยหลักฐานของบาทหลวงฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่า นอกจากพระราชจริยวัตรของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะส่งผลกระทบต่อขุนนางและ ข้าราชการแล้ว ยังสร้างความเดือดร้อนต่อพ่อค้าและชาวต่างชาติซึ่งตั้งถิ่นฐานในสยามด้วย ในปีพ.ศ.๒๓๒๔ พ่อค้าจีนต่างยกเลิกการค้าขาย เนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระอาการผิดปกติทางพระสติมากยิ่งขึ้น แม้แต่พระมเหสี พระโอรสและขุนนางระดับสูงก็ถูกโบย เพื่อให้รับสารภาพอย่างปราศจากความผิด นักวิชาการเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงทางลบที่เกิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยของ พระองค์ อาจมีสาเหตุจากการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระราชฐานะพระมหากษัตริย์ที่สืบ เชื้อสายมาจากสามัญชนลูกครึ่งจีน แม้จะทรงเคยได้รับการยอมรับจากอาณาประชาราษฎร์ภายหลังการกอบกู้พระราช อาณาจักร แต่เมื่อบ้านเมืองมีความมั่นคงแล้ว กลุ่มอำนาจเดิม อาทิ ตระกูลขุนนางซึ่งเคยเป็นชนชั้นปกครองมาหลายชั่วอายุคนรวมถึงขุนนางและพ่อค้า เริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องผลประโยชน์ดั้งเดิมที่เคยได้รับอย่างเงียบๆในช่วง ที่พระราชจริยวัตรของสมเด็จพระเจ้าตากสินเปลี่ยนแปลงไป[75]

            ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิเคราะห์ว่าในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขุนนางแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่๑ ข้าหลวงเดิม หมายถึง ขุนนางที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงไว้วางพระทัยเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดและถวายตัวในระยะแรกๆ กลุ่มที่๒ ขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งรับราชการมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีความรู้เรื่องพระราชพิธีและแบบแผนราชการ กลุ่มที่๓ กลุ่มข้าราชการทั่วไป [76] แต่มัลลิกา มัสอูดีอธิบายค่อนข้างชัดเจนกว่าว่า ขุนนางในราชสำนักสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแบ่งเป็น กลุ่มขุนนางที่สวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กลุ่มขุนนางที่สนับสนุนขบถพระยาสรรค์ และกลุ่มขุนนางที่สนับสนุนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก[77]

            พระราชอาณาเขตในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแม้จะขยายไปมากกว่าสมัย อยุธยา แต่อำนาจส่วนใหญ่กลับเป็นของเจ้าประเทศราชทั้งในนครศรีธรรมราช ปัตตานี ล้านนา กัมพูชา เวียงจันทน์และหลวงพระบาง นอกจากนี้การที่ขุนนางต้นตระกูลบุนนาคก็ยังคงมีอิทธิพลในกรมพระคลังสินค้า ร่วมกับขุนนางเชื้อสายจีนและพราหมณ์ในด้านเศรษฐกิจ และขุนนางเชื้อสายเก่าแก่ยังอาศัยชื่อเสียง เครือข่ายความชำนาญพิเศษและความได้เปรียบในการควบคุมกำลังคน เพื่อรักษาความมั่นคงของตำแหน่งและแสวงหาก้าวหน้าของตนด้วย ซึ่งล้วนเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้เห็นพ้องใช้เป็นข้อ อ้างในปีพ.ศ.๒๓๒๔ว่า เพื่อประโยชน์สุขของแผ่นดินสยามและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสมควรจะถูกถอดลงจากพระราชอำนาจ[78]

๓) โครงสร้างทางสังคมและการควบคุมกำลังคน
            สังคมสมัยกรุงธนบุรีเป็นสังคมที่มีความสับสนอันเกิดจากผกระทบของสงครามเสีย กรุงศรีอยุธยา ถึงกระนั้นโครงสร้างทางสังคมในสมัยธนบุรียังคงประกอบด้วยชนชั้นปกครองและชน ชั้นซึ่งถูกปกครองเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา การควบคุมกำลังคนหรือระบบไพร่เป็นสิ่งสำคัญต่อการปกครองมาโดยตลอด เนื่องจากหากการควบคุมกำลังคนไม่มีประสิทธิภาพ การเรียกเกณฑ์ทัพเพื่อทำสงครามป้องกันตนเองก็จะด้อยประสิทธิภาพไปด้วย

            ในสมัยธนบุรี สถานการณ์ที่บ้านเมืองยังไม่สงบราบคาบ ทำให้มูลนายถือโอกาสนำไพร่หลวงหรือไพร่สมและทาสมาเป็นสมบัติส่วนตัว นอกจากนี้ไพร่อีกส่วนหนึ่งยังหนีไปอยู่ตามป่าเพื่อความปลอดภัยและเพื่อการ หลุดพ้นจากพันธะทางสังคม สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงฟื้นฟูระบบไพร่ขึ้นมาใหม่ ด้วยการโปรดฯให้สักข้อมือหมายหมู่สังกัดของไพร่หลวงและไพร่สมทั้งในส่วนกลาง และหัวเมือง แล้วให้ส่งบัญชีเป็นทะเบียนหางว่าวต่อกรมพระสุรัสวดี ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการสักหมายหมู่ไพร่ทุกกรมกอง และมีการกำหนดโทษผู้ปลอมแปลงเหล็กสักหรือขโมยเหล็กสักของหลวงไปใช้ถึงขั้น ประหารชีวิตทั้งโคตร[79]

            ในปีพ.ศ.๒๓๒๒ ช่วงปลายรัชสมัยเกิดกบฎไพร่ในเขตกรุงเก่า พระภิกษุชื่อมหาดาประกาศว่าจะ“รื้อการถ่ายน้ำ”หรือไขน้ำออกจากบึงบึงพระราม เพื่อเอาสมบัติในบึงออกมาบูรณะวัดพระราม มีการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์จนเป็นที่เลื่อมไขแก่เจ้าเมืองกรุงเก่า แม้แต่ผู้คนในกรุงธนบุรียังเกิดความศรัทธา ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องส่งกองทหารขึ้นไปปราบ ชี้ให้เห็นว่าทั้งปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาการเมืองต่างก็ผูกพันกับระบบการควบ คุมกำลังคน และกบฎที่เกิดขึ้นใกล้ราชธานีเป็นสิ่งที่สะท้อนให้ให้เห็นถึงความเปราะบาง ของการควบคุมกำลังคนในรัชสมัยนี้

            ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์เสนอว่า ปัญหาเช่นนี้มีรากฐานมาตั้งแต่เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสถาปนา ราชธานีขึ้นใหม่ๆ พระองค์ทรงแต่งตั้งหัวหน้าชุมนุม หรือ “นายซ่อง” ที่ยอมอ่อนน้อมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาให้ยังคงปกครองผู้คนในสังกัดตนเองได้ต่อไป โดยอาศัยความจงรักภักดีที่หัวหน้าชุมนุมมีต่อพระองค์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ความสัมพันธ์ แต่เมื่อจะต้องเกณฑ์คนเพื่อเข้าทัพ ทำงานโยธาหรือเรียกเกณฑ์ส่วยสินค้าป่าแล้ว ทางการจะต้องเรียกเกณฑ์จากหัวหน้าชุมนุม อันแสดงให้เห็นว่าผู้มีอำนาจควบคุมกำลังคนจริงๆในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุง ธนบุรีคือหัวหน้าชุมนุมแต่เดิม

๔) เศรษฐกิจ
            การกวาดต้อนผู้คนกลับไปยังพม่าหลังสงครามในปีพ.ศ.๒๓๑๐ เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้กรุงธนบุรีขาดแคลนแรงงานผลิตจำนวนมาก ภาวะสงครามทำให้ไพร่หยุดการทำไร่ไถนาเป็นเวลาหลายปี จึงก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหารตามมา การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเกลี้ยกล่อมผู้คนเข้าสวามิภักดิ์ ทำให้ราษฎรเข้ามาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จึงเกิดปัญหาข้าวยากหมากแพงและคนอดตายซ้ำเติม บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกว่า “ค่าอาหารการรับประทานในเมืองแห่งนี้แพงอย่างที่สุด เวลานี้ข้าวสารขายกันทะนานละ ๒ เหรียญครึ่ง” สภาพปัญหาเช่นนี้จึงทำสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระราชปรารภว่า “บุคคลผู้ใดเป็นอาทิ คือ เทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์ มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้นให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้ผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคให้ผู้นั้นได้”[80]

            ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ชี้ว่า สมัยธนบุรีสสยามเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เฉพาะเรื่องการผลิตข้าวให้พอกินตลอดทั้งปีก็ต้องใช้เวลาอยู่หลายปี ส่วนเรื่องการผลิตข้าวเพื่อส่งออกนั้น เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้เลยเกือบตลอดรัชสมัย ยิ่งต้องทำสงครามเกือบทุกปีก็ยิ่งทำให้ทางการต้องสะสมข้าวในฉางหลวงไว้มาก ส่วนแรงงานที่ใช้ในการผลิตข้าวก็ต้องต้องลดน้อยลงเนื่องจากถูกเกณฑ์เข้ากอง ทัพ มิหนำซ้ำรายได้จากการอากรค่านาก็เก็บได้เพียง ๑ ใน ๓ ของพื้นที่เพาะปลูกในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น ความสามารถในการควบคุมกำลังคนยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รายได้จากสินค้าป่ามี ปริมาณน้อยกว่าสมัยอยุธยาตอนปลาย พื้นที่เก็บอากรค่านาเพิ่งขยายไปถึงเมืองพิชัย สงขลา ตราดและโคราชในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง

            บาทหลวงฝรั่งเศสและนักเดินทางชาวเดนมาร์กบันทึกว่า พระราชทรัพย์ส่วนหนึ่งของแผ่นดินมาจากการประมูลสิทธิ์ในการขุดหาสมบัติที่ ฝังไว้ในศาสนาสถานที่กรุงเก่า เงื่อนไขนี้เองทำให้นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่ามีส่วนทำให้เศรษฐกิจสมัย ธนบุรีฟื้นตัว นอกจากนี้แม้การค้าสำเภากับจีนจะยังมิได้ดำเนินไปอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง ถึงปีสุดท้ายในรัชกาล แต่ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างทางการสยามและพ่อค้าจีนก็ยังคงมีอยู่ สิ่งที่ขาดหายไปคือสิทธิพิเศษของทางการสยามในการเว้นภาษีขาเข้าและออกจากการ ค้ากับราชสำนักจีนในการค้าแบบบรรณาการ[81] ผลที่ตามมาคือการขาดแคลนเงินสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าที่ต้องการ อาทิ ปืน ทำให้ทางการสยามต้องนำสินค้าประเภท ดีบุก งาช้างและไม้มาแลกอาวุธปืนแทน นอกจากนี้การขาดแคลนเงินและทรัพย์สินจากการค้ายังส่งผลกระทบต่อการพระราชทาน เบี้ยหวัด เครื่องยศ การเสริมสร้างพระราชฐานะและพระราชอำนาจ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงระมัดระวังการรั่วไหลของเงินทอง อีกทั้งยังทรงลงโทษผู้กระทำการทุจริตอย่างรุนแรง ความระมัดระวังเช่นนี้จึงเป็นการขัดผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ตามปกติของขุน นางอีกทางหนึ่งเช่นกัน

            การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทางเศรษฐกิจในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินคือ การสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากพ่อค้าต่างเมืองมาแจกจ่ายราษฎร และการสนับสนุนให้พ่อค้าต่างชาติเช่น ชาวจีน เข้ามาค้าขายในกรุงธนบุรีและทำไร่อ้อย ไร่พริกไทยตามหัวเมืองชายฝั่งตะวันออกและภาคใต้ ทำให้ภาวะขาดแคลนอาหารบรรเทาลง ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวคือ ในปีพ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้เจ้านายและขุนนางทำนาบริเวณนอกคูเมืองฟาก ตะวันออกของกรุงธนบุรี กระทุ่มแบน หนองบัวและแขวงเมืองนครชัยศรี รวมทั้งให้ทหาร ราษฎรและเชลยชาวลาวและเขมรทำการเพาะปลูกยามที่เว้นว่างจากราชการสงคราม[82]

๕) การติดต่อกับต่างประเทศ
            ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แม้การติดต่อเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศค่อนข้างเกิดขึ้นอย่าง จำกัดและไม่คึกคักดังเช่นสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ทางการสยามก็พยายามส่งเสริมการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศให้เจริญ รุ่งเรืองดังเช่นสมัยกรุงศรีอยุธยา จดหมายเหตุต่างชาติระบุว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงโปรดปรานการค้าอย่างมากและทรงเปิดโอกาสทางการค้าแก่ สินค้าทุกชนิดจากเมืองจีน ทำให้มีชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานจำนวนมากทำให้กลายเป็นพ่อค้ากลุ่มสำคัญ ในปีพ.ศ.๒๓๑๗ และ พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามส่งพระราชสาส์นไปยังราชสำนักจีน เพื่อขอซื้อกำมะถันและกระทะเหล็กจากจีนแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากราชสำนักจีน ในปีพ.ศ.๒๓๒๔เมื่อจักรพรรดิจีนทรงรับรองพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์สยาม แล้ว พระองค์จึงได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งจักรพรรดิจีนทรงรับไว้เพียงช้าง ๑ เชือกและนอระมาดเท่านั้น ส่วนสิ่งของอื่นๆจักรพรรดิจีนทรงอนุญาตให้ราชทูตสยามนำไปขายที่ เมืองกวางตุ้งได้โดยไม่เสียภาษี

            สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังทรงสนับสนุนให้ชาวจีนเป็นนายเรือเพื่อนำสินค้า ไปขายในนามของพระมหากษัตริย์สยามพร้อมกับสินค้าส่วนตัว หลวงอภัยพานิชหรือจีนมั่วเสง เป็นนายเรือคนหนึ่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ส่งสินค้าไปขายที่เมืองจีน ปีละ ๑๕ ลำ โดยมีเรือสินค้าของตนร่วมเดินทางไปปีละ ๒ ลำ [83]

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

20.อารยธรรมกรีก

20.อารยธรรมกรีก

     อารธรรมกรีก

    ชาวกรีกโบราณเรียกตัวเองว่า  “เฮลลีน” (Hellene) เป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของประเทศกรีซ ปัจจุบันเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในระยะแรก กระจายอยู่เป็นเผ่าต่างๆ ในคาบสมุทรบอลข่านและเขตทะเลอีเจียน ที่สำคัญได้แก่ พวกไอโอเนียน (Ionians) และพวกไมซีเนียน (Mycenaeans) โดยทั่วไปชาวกรีกโบราณประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเดินเรือ ต่อมาเผ่าที่มีความเจริญได้ขยายอำนาจและก่อตั้งเป็นนครรัฐ ที่สำคัญได้แก่นครรัฐของพวกไมซีเนียนซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีอำนาจสูงสุดประมาณปี 1600-1100 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนทางตอนใต้ของประเทศกรีซในปัจจุบัน พวกไมซีเนียนเป็นนักรบที่มีความเก่งกล้าสามารถยึดครองดินแดนของนครรัฐอื่นๆ รวมทั้งเกาะครีต และรับอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอารยธรรมไมนวนของชาวเกาะครีตต่อมาประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช พวกกรีกอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ดอเรียน (Dorians) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและขยายอำนาจครอบครองดินแดนของพวกไมซีเนียน พวกนี้ได้สร้างนครรัฐสปาร์ตาเป็นศูนย์กลางปกครองของตน พวกดอเรียนมีความเจริญน้อยกว่าไมซีเนียนและไม่รู้หนังสือ จึงไม่มีหลักฐานที่กล่าวถึงดินแดนกรีกภายใต้อิทธิพลของพวกดอเรียนในช่วงปี 1100-750 ก่อนคริสต์ศักราชมากนัก จนกระทั่งประมาณปี 750 ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการประดิษฐ์อักษรซึ่งรับรู)แบบมาจากอักษรและพยัญชนะของพวกฟีนิเชียนที่ เข้ามาติดต่อค้าขายในช่วงนั้น อย่างไรก็ตามแม้พวกดอเรียนจะมีอำนาจเข้มแข็งแต่ก็ไม่สามารถรวมอำนาจปกครอง นครรัฐกรีกได้ทั้งหมดหลักจากนครรัฐสปาร์ตาเสื่อมอำนาจ เมื่อปี 371 กาอนคริสต์ศักราช นครรัฐกีกอื่นๆ ก็พยายามรวมตัวกันโดยมีนาครรัฐทีบีส (Thebes) เป็นผู้นำ แต่ในที่สุดก็ถูกกษัตริย์ฟิลิปแห่งมาซิโดเนียซึ่งอยู่ในเขตเอเชียไมเนอร์ รุกรานและครอบครองเมืื่อปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาเมื่อพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ปี 336-323 ก่อนคริสต์ศักราช) โอรสของพระเจ้าฟิลิปได้ปกครองจักรวรรดิมาซิโดเนีย พระองศ์ได้ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนถึงเขตลุ่มแม่น้ำสินธุและได้ ครอบครองแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลก ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และเปอร์เซีย จึงมีการรับความเจริญจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นมาผสมผสานกับอารยธรรมกรีก เรียกว่า อารยธรรมเฮลเลนิสติกตามชื่อสมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชจนกระทั่งสิ้นสลายเมื่อ ประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นดินแดนกรีกได้ตกอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน ความเจริญต่างๆ ที่ชาวกรีกสั่งสมไว้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมโรมัน

มรดกของอารยธรรมกรีก


1.ด้านสถาปัตยกรรม ชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลกจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับความใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นความงดงามของสัดส่วนที่สมบูรณ์

แบบ ตัวอย่างเช่น วิหารพาร์เทนอน  (Parthenon) ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโพลิส (Acropolis) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีสัดส่วนงดงามทั้งความยาว ความกวว้างและความสูง จัดว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของโลก สถาปั ตยกรรมของกรีกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามลักษณะของหั วเสาได้แก่ แบบดอริ ก(Doric) ที่มีลักษณะตัวเสาส่วนล่างใหญ่เรียวขึ้นเล็กน้อยตามลำเสาเป็นทางยาวไม่มีลวด ลายแบบไอโอนิก (Ionic) มีลักษณะเรียวว่าแบบดอริกแผ่นหินบนหัวเสามีลอนย้อยม้วนลงมาทั้งสองข้างทำให้ มีความแช่มช้อยและ แบบโครินเธียน(Corinthian) เป็นแบบที่ดัดแปลงโดยมี การตกแต่งประดับประดาหัวเสาด้วยการแกะสลักเป็นรูปใบไม้ทำให้หรูหรามากขึ้น


2.ความเจริญด้านปรัชญา ความเจริญด้านปรัชญาได้รับการยกย่องว่าเป็นความเจริญรสูงสุดของภูมิปัญญากรี กเช่นเดียวกับความเจริญด้านศิลปกรรม นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ได้แก่ โซเครติส เพลโต และอริสโตเติล


โสเครติส (Socrates) เกิดที่นครเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 469-399 ก่อนคริสต์ศักราช เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอนของเขาซึ่งเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำ แต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง แม้โซเครติสจะสั่งสอนลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่เคยมีผลงานเขียนของตนเอง ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีของเขาที่รู้จักกันสืบมาจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอดโดยลูก ศิษย์ของเขา




เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของโซเครติส เกิดที่นครเอเธนส์ประมาณ 429 ปีก่อนคริสต์ศักราชและเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติสให้ชาวโลก ได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะแคเดอมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่โดนเด่นและทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมือง สมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คน ทั่วโลก



อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นศิษย์ที่ชาญฉลาดของเพลโตและเคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซาน เดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย อริสโตเติลเป็นทั้งปราชญ์และนักวิจัยที่มีความสนใจหลากหลาย นอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆ อีกมาก เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics) ซึ่งเป็นการวิจัยรูปแบบการปกครองของนครรัฐต่างๆ ถึง 150 แห่ง



3.การเขียนประวัติศาสตร์ กรีกเป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ซึ่งได้แก่ การสืบค้นข้อมูล การตรวจสอบหลักฐาน และการเลือกใช้ข้อมูล นักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงานประวัติศาตร์ในลักษณะนี้คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) นักประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องด้านการสร้างผลงานทางประวัติศาสตร์และ มาตรฐานของวิธีการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุ บัน

19.อารยธรรมอียิปต์

19.อารยธรรมอียิปต์

    อารยธรรมอียิปต์

  อารยธรรมอียิปต์เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือ 5500 ปีมาแล้ว ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา เป็นอารยธรรมที่มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ และมีพัฒนาการสืบเนื่องต่อมาหลายพันปี

1.ปัจจัยที่ส่งเสริมการหล่อหลอมอารยธรรมอียิปต์

อารยธรรมอียิปต์ได้ชื่อว่าเป็นของขวัญจากแม่น้ำไนล์ (The girt of the Nile) เนื่องจากลักษณะที่ตั้งของอียิปต์และสภาพภูมิศาสตร์ในลุ่มแม่น้ำไนล์มี อิทธิพลต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ นอกจากนี้แล้ว ระบอบการปกครองตลอดจนภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริม การสร้างสรรค์อารยธรรมของอียิปต์



ที่ตั้ง สภาพภูมิศาสตร์ของอียิปต์โดยทั่วไปมีลักษณะร้อนและแห้งแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตทะเลทรายซึ่งไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ยกเว้นบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำไนล์ที่มักมีน้ำท่วมขังเป็นประจำในช่วงฤดูฝน น้ำฝนและหิมะที่ละลายจากยอดเขาจะไหลจากต้นแม่น้ำไนล์ และท่วมล้นสองฝั่งแม่น้ำตั้งแต่เดือนกันยายนของทุกปีตะกอนและโคลนที่น้ำพัด พามาได้กลายเป็นปุ๋ยที่ดีสำหรับการเพาะปลูกบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ อย่างไรก็ตามลักษณะธรรมชาติดังกล่าวนี้ช่วยให้ชาวอียิปต์เพาะปลูกได้เพียงปี ละครั้งเท่านั้น ดังนั้นจึงจำต้องใช้ภูมิปัญญาแก้ไขข้อจำกัดของสภาพภูมิศาสตร์ด้วยการขุดคลอง ขนาดสั้นๆ เพื่อส่งน้ำเข้าไปในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งจนสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูก และทำการเพาะปลูกได้ปีละ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ผู้นำชาวอียิปต์โบราณยังใช้วิธีคำนวณจัดแบ่งที่ดินที่สามารถเพาะ ปลูกได้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง กล่าวได้ว่าการทำชลประทานและระบบจัดสรรที่ดินช่วยให้ชาวอียิปต์ตั้งถิ่นฐาน อยู่ในดินแดนที่แห้งแล้งได้ต่อเนื่องนานถึง 6000 ปี โดยไม่ต้องอพยพละทิ้งถิ่นฐานไปแสวงหาที่ทำกินใหม่เหมือนชนชาติอื่น

อนึ่ง ลักษณะที่ตั้งของอียิปต์ซึ่งถูกปิดล้อมด้วยพรมแดนธรรมชาติที่สำคัญ คือทะเลและทะเลทราย ก็ช่วยป้องกันการรุกรานจากภายนอก ทำให้ชาวอียิปต์สามารถพัฒนาและหล่อหลอมอารยธรรมได้ต่อเนื่องยาวนานและมี เอกลักษณ์ของตนเอง

5514ทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์จะเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง แต่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็ประกอบด้วยหินแกรนิตและหินทราย ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญที่ชาวอียิปต์ใช้ในการก่อสร้างและพัฒนาความเจริญ รุ่งเรืองทางด้านสถาปัตยกรรม วัสดุเหล่านี้มีความคงทนแข็งแรงและช่วยรักษามรดกทางด้านอารยธรรมของอียิปต์ ให้ปรากฏแก่ชาวโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นอกจากนี้ ต้นอ้อโดยเฉพาะปาปิรุส ซึ่งขึ้นชุกชุมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำไนล์ก็เป็นวัสดุธรรมชาติสำคัญที่ชาว อียิปต์ใช้ทำกระดาษทำให้เกิความก้าวหน้าในการบันทึกและสร้างผลงานด้าน วรรณกรรม

542ระบอบการปกครอง จักรวรรดิ อียิปต์มีระบอบการปกครองที่มั่นคง ชาวอียิปต์ยอมรับอำนาจและเคารพนับถือฟาโรห์หรือกษัตริย์ของตนประดุจเทพเจ้า องค์หนึ่ง ดังนั้นฟาโรห์จึงมีอำนาจเด็จขาดในการปกครองและบริหารประเทศทั้งด้านการเมือง และศาสนา โดยมีขุนนางเป็นผู้ช่วยในด้านการปกครอง และมีพระเป็นผู้ช่วยด้านศาสนา การที่ฟาโรห์มีอำนาจเด็จขาดสูงสุดทำให้อียิปต์พัฒนาอารยธรรมของตนได้ต่อ เนื่อง เพราะฟาโรห์สามารถสร้างสรรค์และพัฒนาความเจริญตามแนวนโยบายของตนได้เต็มที่ เช่น การพัฒนาพื้นที่การเกษตรในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้งด้วยการคิดค้นระบบชลประทาน การสร้างพีระมิดหรือสุสานขนาดใหญ่ไว้เพื่อเก็บศพของฟาโรห์ตามความเชื่อทางศา นาของชาวอียิปต์เรื่องโลกหลังความตายและการมีวิญญาณเป็นอมตะ และการคิดค้นปฏิทินเพื่อกำหนดฤดูกาลสำหรับการไถหว่านและเก็บเกี่ยว

ภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ชาวอียิปต์เป็นชนชาติที่มีความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยีและวิทยาการความ เจริญ ด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่จักรวรรดิอียิปต์ เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และฟิสิกส์ ได้ส่งเสริมความเจริญในด้านการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ความรู้ด้านดาราศาสตร์ช่วยให้ชาวอียิปต์ประดิษฐ์ปฏิทินรุ่นแรกๆของโลก ความสามารถในการประดิษฐ์อักษรที่เรียกว่า “ไฮโรกลิฟิก” (Hieroglyphic) ทำให้เกิดการบันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนาและฟาโรห์ และความเจริญทางการแพทย์ก็ทำให้ชาวอียิปต์สามารถคิดค้นวิธีผ่าตัดเพื่อรักษา ผู้ป่วย ตลอดจนใช้น้ำยารักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย (มัมมี่) ความเจริญเหล่านี้ทำให้สังคมอียิปต์เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องหลายพันปี สามารถหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้ก้าวหน้าและเป็นรากฐานของอารยธรรมตะวันตกใน เวลาต่อมา


เกร็ดความรู้ การทำมัมมี่ เริ่ม จากนำศพมาทำความสะอาด ล้วงเอาอวัยวะภายในออกโดยการใช้ตะขอที่ทำด้วยสำริดเกี่ยวเอาสมองออกทางโพรง จมูก ใช้มีดกรีดข้างลำตัว เพื่อล้วงเอาอวัยวะออกจากศพ เหลือเพียงหัวใจไว้ จากนั้นนำขี้เลือย เศษผ้าลินิน โคลน และเครื่องหอมใส่เข้าไปแทนที่ อวัยวะภายในซึ่งจะถูกนำไปล้างด้วยไวน์ปาล์ม แล้วบรรจุลงในภาชนะสี่เหลี่ยมมีฝาปิด ส่วนร่างจะนำไปดองเกลือ 7-10 วัน แล้วนำมาเคลือบน้ำมันสน ตกแต่งพันศพด้วยผ้าลินินสีขาวชุบเรซิน บรรจุลงหีบศพพร้อมกับเครื่องรางของขลังต่างๆ รวมถึงหน้ากากจำลองใบหน้าของผู้ตายใส่ในหีบศพอีกด้วย




2.ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอียิปต์

อาณาจักรอียิปต์ก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช และมีความเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องมาเกือบ 3000 ปี มีราชวงศ์ปกครองประมาณ 30 ราชวงศ์ อาณาจักรอียิปต์แบ่งช่วงการปกครองเป็น 4 สมัย คือ สมัยราชอาณาจักรเก่า สมัยราชอาณาจักรกลาง สมัยราชอาณาจักรใหม่ และสมัยเสื่อมอำนาจ อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานประเภทลายลักษณ์ระบุช่วงเวลาของแต่ละสมัยไว้ชัดเจน นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จึงกำหนดช่วงเวลาโดยวิธีการประมาณการ

สมัยราชอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom) สมัยราชอาณาจักรเก่ามีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงประมาณปี             2700-2200       ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสมัยที่อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปกรรม มีการก่อสร้างพีระมิดซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของอารยธรรมอียิปต์ ช่วงปลายสมัยนี้บ้านเมืองเกิดการจลาจลวุ่นวายเนื่องจากรัฐบาลกลางเสื่อม อำนาจนานประมาณ 150 ปี56

สมัยราชอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom) สมัยราชอาณาจักกลาง ฟาโรห์มีอำนาจปกครองอยู่ในช่วงราวปี 2015-1652 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยราชอาณาจักรกลางนี้ อียิปต์มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและภูมิปัญญามากโดยเฉพาะด้านการชล ประทาน ดังนั้นจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยนี้เกิดความวุ่นวายในประเทศ จนต่างชาติเข้ามารุกรานและปกครองอียิปต์

สมัยราชอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom) ชาว อียิปต์สามารถขับไล่ชาวต่างชาติและกลับมาปกครองดินแดนของตนอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงประมาณปี 1567-1085 ก่อนคริสต์ศักราช จึงเรียกช่วงการปกครองสมัยนี้ว่าสมัยราชอาณาจักรใหม่ สมัยนี้ฟาโรห์มีอำนาจเด็ดขาจในการปกครองและขยายอาณาเขตเหนือดินแดนใกล้เคียง จนเป็นจักรวรรดิอียิปต์

สมัยเสื่อมอำนาจ (The Decline) จักรวรรดิอียิปต์เสื่อมอำนาจตั้งแต่ประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยนี้ชาวต่างชาติ เช่น พวกแอลซีเรียนและพวกเปอร์เซียจากเอเชีย รวมทั้งชนชาติในแอฟริกาได้เข้ารุกรานอียิปต์และปกครองบางส่วนของอียิปต์ แต่ฟาโรห์ของอียิปต์ก็ยังคงปกครองดินแดนของตนต่อมาจนถึงประมาณปี 300 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรอียิปต์เสื่อมสลายและถูกชาวต่างชาติยึดครอง

3.ความรุ่งเรืองของอารยธรรมอียิปต์

ชาวอียิปต์ได้สร้่างความเจริญให้แก่ชาวโลกเป็นจำนวนมาก อารยะรรมส่วนใหญ่เกิดจากการสร้างสรรค์โดยภูมิปัญญาของชาวอียิปต์ ซึ่งได้ประดิษฐ์และคิดค้นความเจริญด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการดำเนินชีวิตและความเชื่อทางศาสนา

ศาสนา ศาสนามีอิธิพลสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์อารยธรรมอียิปต์ ความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ผูกพันกับธรรมชาติและสภาพภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ว่าชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าหลายองค์ทั้งที่เป็นสรรพสิ่งตาม ธรรมชาติและวิญญาณของอดีตฟาโรห์ โดยบูชาสัตว์ต่างๆ เช่น แมว สุนัข หมาใน วัว เหยี่ยว แกะ ฯลฯ เพราะเชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นที่สิงสถิตของเทพซึ่งพิทักษ์มนุษย์ แต่เทพเจ้าที่เชื่อว่ามีอำนาจปกครองจักรวาลคือ เร หรือ รา (Re or Ra) ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์และเป็นหัวหน้าแห่งเทพเจ้าทั้งปวง โอริซิส (Orisis) ซึ่งเป็นเทพแห่งแม่น้ำไนล์ผู้บันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่อียิปต์และเป็นผู้ พิทักษ์ดวงวัญญาณหลังความตาย และไอซิส ซึ่งเป็นเทวีผู้สร้างและชุบชีวิตคนตาย และยังเป็นชายาของเทพโอริซิสอีกด้วย ชาวอียิปต์นับถือฟาโรห์ของตนเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่งและเชื่อว่าวิญญาณเป็น อมตะ จึงสร้างสุสานขนาดใหญ่หรือพีระมิดสำหรับเก็บร่างกายที่ทำให้ไม่เน่าเปื่อย ด้วยวิธีการมัมมี่ เพื่อรองรับวิญญาณที่จะกลับคืนมา อนึ่ง ความเชื่อทางศาสนายังทำให้เกิดกาารบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ และพิธีกรรมตามสถานที่ต่างๆ ที่สำคัญได้แก่คัมภีร์ของผู้ตายหรือคัมภีร์มรณะ (Book of The Dead) ซึ่งอธิบายผลงานและคุณความดีในอดีตของดวงวิญญาณที่รอรับการตัดสินของเทพโอริ ซิส บันทึกเหล่านี้ช่วยให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตชาวอียิปต์และพัฒนาการของอารยธรรม ด้านต่างๆ ได้ดี


กล่าวได้ว่า ศาสนามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมอำนาจการปกครองของสถาบันกษัตริย์อียิปต์ เป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่สถานะและอำนาจของฟาโรห์ นอกจากนี้ความเชื่อทางศาสนาของชาวอียิปต์ยังส่งเสริมให้เกิดความเจริญทาง ด้านวิทยาการด้านต่างๆ และศิลปกรรมอีกด้วย

ความเจริญด้านวิทยาการ ชาวอียิปต์สั่งสมความเจริญทางวิทยาการต่างๆ ให้แก่ชาวโลกหลายแขนง ที่สำคัยได้แก่ ควมาเจิญด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ การแพทย์ และอักษรศาสตร์

ด้านดาราศาสตร์ เกิดจากการสังเกตปรากฏการ์ณที่น้ำในแม่น้ำไนล์หลากท่วมล้นตลิ่ง เมื่อน้ำลดแล้วพื้นดินก็มีความเหมาะสมที่จะเพาะปลูก หลังจากชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลแล้วน้ำในแม่น้ำไนล์ก็กลับมาท่วมอีก หมุนเวียนเช่นนี้ตลอดไป ชาวอียิปต์ได้นำความรู้จากประสบการ์ณดังกล่าวไปคำนวณปฏิทิน นับรวมเป็น 1 ปี มี 12 ดือน ในรอบ 1 ปียังบ่งเป็น 3 ฤดูที่กำหนดตามวิถีการประกอบอาชีพ คือ ฤดูน้ำท่วม ฤดูไถหว่าน และฤดูเก้บเกี่ยว

ด้านคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะการคำนวณขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การบวก ลบ และหาร และการคำนวณพื้นที่วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม ความรู้ ดังกล่าวเป็นฐานของวิชาฟิสิกส์ ซึ่งชาวอียิปต์ใช้คำนวณในการก่อสร้างพีระมิด วิหาร เสาหินขนาดใหญ่ ฯลฯ

ด้านการแพทย์ มี ความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์มาก เอกสารที่บันทึกเมื่อ 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช ระบุว่าอียิปต์มีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์หลายสาขา เช่น ทันตแพทย์ ศัลยแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ในสมัยนี้แพทย์อียิปต์สามารถผ่าตัดคนไข้แบบง่ายๆ ได้แล้ว นอกจากนี้ยังคิดค้นวิธีปรุงยารักษาโรคต่างๆ ได้จำนวนมาก โดยรวบรวมเป็นตำราเล่มแรก ซึ่งต่อมาถูกนำไปใช้กันแพร่หลายในทวีปยุโรป

ด้านอักษรศาสตร์ อักษรไฮโรกลิฟิกเป็นอักษรรุ่นแรกที่อียิปต์ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณปี 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นอักษรภาพแสดงลักษณ์ต่างๆ ต่อมามีการพัฒนาตัวอักษรเป็นแบบพยัญชนะ ในระยะแรก ชาวอียิปต์จารึกเรื่องราวด้วยการแกะสลักอักษรไว้ตามกำแพงและผนังของสิ่งก่อ สร้าง เช่น วิหารและพีระมิด ต่อมาค้นพบวิธีทำกระดาษจากต้นปาปิรุส ทำให้มีการบันทึกแพร่หลายมากขึ้น ความก้าวหน้าทางอักษรศาสตร์จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชาวโลก ทราบถึงความเจริญและความต่อเนื่องของอารยธรรมอียิปต์

ศิลปกรรม ศิลปกรรมของอียิปต์ที่โดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมและประติมากรรมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ยังปรากฏหลักฐานและร่องรอยอยู่ในปัจจุบัน

สถาปัตยกรรม เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอียิปต์คือพีระมิด ซึ่งสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ทางศาสนาและอำนาจทางการปกครอง ด้วยความเชื่อทางศาสนา ฟาโรห์ของอียิปต์จึงสร้างพีระมิดสำหรับหรับตนเอง สันนิษฐานว่า พีระมิดรุ่นแรกๆ สร้างขึ้นราวปี 2770 ก่อนคริสต์ศักราช ความยิ่งใหญ่ของพีระมิดสะท้อนถึงอำนาจของฟาโรห์ ความสามารถในการออกแบบและก่อสร้างของชาวอียิปต์ เช่น พีระมิดแห่งเมืองกิซา (Giza) ซึ่งใช้แรงงานคนถึง 100000 คน ทำการก่อสร้างพีระมิดขนาดความสูง 137 เมตร เป็นเวลานานถึง 20 ปี โดยใช้หินทรายตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม น้ำหนักขนาด 2.2-2.5 ตัน รวมประมาณ 2 ล้านก้อนเป็นวัสดุก่อสร้าง


นอกจากพีระมิดแล้ว อียิปต์ยังสร้างวิหารจำนวนมาก เพื่อบูชาเทพเจ้าแต่ละองค์และเทพประจำท้องถิ่นภายในวิหารมักจะประดับด้วยเสา หินขยาดใหญ่ซึ่งแกะสลักลวดลายอย่างงดงาม วิหารที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของอียิปต์ ได้แก่ วิหารแห่งเมืองคาร์นัก (Karnak) และวิหารแห่งเมืองลักซอร์ (Luxor)

ประติมากรรม ชาวอียิปต์สร้างผลงานประติมากรรมไว้จำนวนมาก ทั้งที่เป็นรูปปั้นและภาพสลัก ส่วนใหญ่ประดับอยู่ในพีระมิดและวิหาร ที่พบในพีระมิดมักเป็นรูปปั้นของฟาโรห์และมเหสี ภาพสลักที่แสดงถึงเรื่องราวต่างๆ และวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ ส่วนในวิหารมักเป็นรูปปั้นสัญลักษณ์ของเทพและสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ เช่น สุนัข แมว เหยี่ยว ฯลฯ และภาพสลักที่แสดงเรื่องราวและเหตุการณ์

imagesจิตรกรรม ชาวอียิปต์มีผลงานด้านจิตรกรรมจำนวนมาก มักพบในพีระมิดและสุสานต่างๆ ภาพวดของชาวอียิปต์ส่วนใหญ่มีสีสันสดใส มีทั้งภาพสัญลักษณ์ของเทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ พระราชกรณียกิจของฟาโรห์และสมาชิกในราชวงศ์ ภาพบุคคลทั่วไปและภาพ ที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวอียิปต์ เช่น การประกอบเกษตรกรรม

download (1)ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจทำให้จักรวรรดิอียิปต์มั่นคงก้าวหน้าต่อเนื่องเป็น เวลา หลายพันปี และเป็นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจอียิปต์ปัจจุบัน ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอียิปต์ประกอบด้วยเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม

เกษตรกรรม เป็น รากฐานทางเศรษฐกิจของจักรวรรดิอียิปต์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่อาศัยน้ำจากแม่น้ำไนล์ในการเพาะปลูก ทำให้มีการคิดค้นระบบชลประทน ทำคลองส่งน้ำจากแม่น้ำไนล์เข้าไปยังพื้นที่ที่ห่างจากฝั่ง ระบบชลประทานจึงเป็นเทคโนโลยีสำคัยที่ช่วยให้เกษตรกรอียิปต์ดำเนินการเพาะ ปลูกพืชสำหรับบริโภคภายในจักรวรรดิและพืชเศรษฐกิจอื่นๆได้ต่อเนื่อง ไม่ต้องละทิ้งถิ่นฐานไปแสวงหาดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากกว่า อนึ่ง ผลิตผลทางเกษตรที่สำคัญของชาวอียิปต์ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ผัก ผลไม้ ปอ และฝ้าย

พาณิชยกรรม จักรวรรดิอียิปต์ติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ ตั้งแต่ประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ดินแดนที่ติดต่อค้าขายเป็นประจำ ได้แก่ เกาะครีต (Crete) และดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะฟีนิเชีย ปาเลสไตน์ และซีเรีย สินค้าส่งออกที่สำคัญของอียิปต์คือ ทองคำ ข้าวสาลี และผ้าลินิน ส่วนสินค้าที่นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ แร่เงิน งาช้าง และไม้ซุง

อุตสาหกรรม อียิปต์เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรมมของอียิปต์เติบโตคือ การมีช่างฝีมือและแรงงานจำนวนมาก มีเทคโนโลยีและวิทยาการที่ก้าวหน้า มีวัตถุดิบ และมีการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ดังนั้นอียิปต์จึงสามารถพัฒนาระบบอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าได้จำนวนมาก อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การทำเหมืองแร่ การต่อเรือ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องแก้ว และการทอผ้าลินิน

ความรุ่งเรืองมั่งคั่ง ทำให้จักรวรรดิอียิปต์สามารถสั่งสมและหล่อหลอมอารยธรรมของตนให้เจริญก้าว หน้าต่อเนื่องมายาวนาน ดินแดนอียิปต์จึงเป็นที่หมายปองของประเทศเพื่อนบ้านที่พยายามขยายอิทธิพล เข้าครอบครองดินแดนแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม แม้จักรวรรดิอียิปต์เสื่อมสลายไปในช่วงก่อนคริสต์ศักราชแล้ง แต่อารยะรรมอียิปต์มิได้เสื่อมสลายไปด้วย หากกลายเป็นมรดกตกทอดที่ชนรุ่นหลังนำมาพัฒนาเป็นอารยธรรมของมนุษยชาติใน ปัจจุบัน

18.เมโสโปเตเมีย

18.เมโสโปเตเมีย

เมโสโปเตเมีย (กรีกΜεσοποταμία, เมโซโพทาเมีย; อังกฤษMesopotamia) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso = กลาง + potamia = แม่น้ำ) โดยมีนัยหมายถึง "ดินแดนระหว่างแม่น้ำแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส" ดินแดนดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์" (Fertile Crescent) ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย
เมโสโปเตเมียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวมทั้งถ่ายทอดอารยธรรมจากกลุ่มหนึ่งสู่กลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิดอารยธรรมแบบผสม
เมโสโปเตเมียเป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากการละลายของหิมะบนเทือกเขาในอาร์มีเนีย น้ำ จะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำ ความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สิน และชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คน เหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนาน ๆ เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป[ต้องการอ้างอิง] พวก ที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือ และตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอาระเบีย เรื่อง ราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ หลายกลุ่ม มิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรม อียิปต์
คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้ คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่น ๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

เมโสโปเตเมียเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศอิรักแม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนียและเอเชียไมเนอร์มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำชัตต์อัลอาหรับแล้วไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชีนา (Shina) เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามา กล่าวคือ ในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับ ถมไว้ยังบริเวณปากน้ำ ทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่งทุก ๆ ศตวรรษ (ประมาณปีละ 29 นิ้วครึ่ง)
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำและทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาหรับซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
เม โสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าอัสซีเรีย (Assyria)[ต้องการอ้างอิง] บริเวณ ทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใดจะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตกกับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่าง ๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสน